แนะนำ 4 โปรแกรมฟรี สำหรับตรวจเช็คและซ่อมโมเดล 3 มิติ ก่อนนำไปพิมพ์กับ 3D Printer
บทความนี้ ผมจะมาบอกเกี่ยวกับการซ่อมไฟล์โมเดล 3 มิติ และโปรแกรมที่ใช้ในการซ่อมโมเดล 3 มิติที่เสีย ซึ่งหลายๆ คนอาจไม่เคยคิดมาก่อน ว่าบางครั้ง งานพิมพ์ที่มันเสีย อาจจไม่ได้มาจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ แต่อาจจะมาจากโมเดล 3 มิติที่เสียมาตั้งแต่ตอนแรก ซึ่งผมจะแนะนำให้ลูกค้า ทำการตรวจเช็คโมเดลก่อนทุกครั้ง ก่อนที่จะไปเข้าโปรแกรม Slicer เพื่่องานพิมพ์งาน
ก่อนที่จะซ่อมไฟล์ 3 มิติ เราต้องมาทำความรู้จักเกี่ยวกับปัญหาที่ทำให้โมเดล 3 มิติไม่สมบูรณ์ หรือเสีย ซึ่งบางครั้งอาจมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่าๆ เพราะบางทีมันเล็กมาก จนบางครั้งไม่รู้ด้วยว่าโมเดลนั้นเสียอยู่ สำหรับโมเดลที่ใช้พิมพ์กับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ จะเป็นไฟล์นามสกุล STL ซักส่วนใหญ่ ซึ่งปัญหาของโมเดลทีเสียนั้นมีดังต่อไปนี้
Boundary edges

เป็นปัญหาที่พบเจอบ่อยสุด คือมีบางส่วนของโมเดลปิดไม่สนิท เรียกง่ายๆว่ามีบ่อ มีแอ่ง หรือมีหลุมอยุ่ในโมเดล ถ้าภาษาอังกฤษจะ Error ในส่วนนี้ว่า Hold หรือรู แปลง่ายคือ โมเดลปิดไม่สนิท หรืออีกคำคือ None-Watertight ถ้าอธิบายง่ายคือ ถ้าเทน้ำลงไปในโมเดล น้ำจะรั่วออกมานั่นเอง ซึ่งตรงนี้ยังถือว่าเป็นปัญหาไม่ใหญ่มากเท่าไหร่ โปรแกรม Slicer ส่วนใหญ่จะรู้จักปัญหาส่วนนี้แล้วจัดการแก้ไขเอง ในตอน Slice
Intersecting faces

อันนี้ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่พอสมควร ส่วนใหญ่มาจากวิธีการเขียนโมเดล ซึ่งจะพบเจอบ่อยในโปรแกรม SketchUp พูดง่ายๆ คือ มีบางส่วนหรือบางชิ้นของโมเดล ซ้อนทับกันอยู่
Non-manifold edges


สำหรับ Error อันนี้ ถือว่าเป็นอีกปัญหาที่พบเจอบ่อย ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับการใช้ขอบ ใช้จุดร่วมกันของตัวโมเดล ทำให้โปรแกรม Slicer ไม่สามารถแยกได้ว่า โมเดลที่กำลังพิมพ์อยู่นั้นเป็นชิ้นเดียว หรือว่าเป็น 2 ชิ้น เพราะมีการใช้ขอบหรือจุดร่วมกัน ซึ่งตรงนี้จำเป็นต้องมีการแยกชิ้นส่วนโมเดลออกให้ชัดเจนหรือระบุให้ชัดเจน เพื่อให้โมเดลเป็น Manifold edge
Invalid Orientation

ในส่วนปัญหานี้ มักพบเจอให้ส่วนของการออกแบบโดยใช้ Feature Surface ในการสร้างโมเดล ซึ่ง Surface นั้นจะไม่มีความหนา ทำให้โปรแกรม Slicer ไม่สามารถรู้ได้ว่า อันไหนด้านหน้าอันไหนด้านหลัง ซึ่งการแก้ไข ก็คือให้ใส่ความหนาลงไปด้วย ก็จะช่วยในเรื่องปัญหานี้ได้ แต่ในบางครั้ง โมเดลมีความหนา แต่อยู่กลับด้านกัน อันนี้ก็ทำให้เกิด Invalid Orientation ซึ่งการแก้ไข ก็สามารถใช้โปรแกรมช่วยซ่อมในเรื่องนี้ได้
หลังจากรู้จัก Error หรือข้อผิดพลาดที่ทำให้โมเดล 3 มิติไม่สมบูรณ์หรือเสีย ตอนนี้ผมจะมาแนะนำโปรแกรมที่เอาไว้ใช้สำหรับซ่อมโมเดล 3 มิติ ซึ่งโปรแกรมที่ผมแนะนำ จะเป็นโปรแกรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่อาจจะซ่อมโมเดล ได้บางข้อผิดพลาด ซึ่งผมแนะนำว่าให้เรียนรู้โปรแกรมซ่อมโมเดล 3 มิติไว้หลายๆ ตัว เผื่อบางโปรแกรมซ่อมไม่ได้ ก็อาจไปใช้อีกโปรแกรมซึ่งอาจจะซ่อมได้ก็ได้ แต่ถ้าโปรแกรมฟรีที่ผมแนะนำไปยังซ่อมไม่ได้ อันนี้ก็ต้องใช้วิธีสุดท้ายคือเสียเงิน หรือไม่ก็อาจจะลงต้องแรง โดยเขียนโมเดลขึ้นมาใหม่
โปรแกรม Netfabb Basic
ตัวนี้เป็นโปรแกรมซ่อมโมเดลที่ผมใช้บ่อยที่สุด เป็นโปรแกรมฟรี แต่จะซ่อมโมเดล 3 มิติได้เฉพาะบางข้อผิดพลาด ข้อดีของโปรแกรมนี้คือ ซ่อมได้เร็ว แม้ว่าไฟล์โมเดล 3 มิติจะมีขนาดไฟล์ที่ใหญ่ก็ตาม ข้อเสียของโปรแกรมนี้คือไม่สามารถรวม Intersecting faces ได้ แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่เพราะโปรแกรม Slicer ส่วนใหญ่ จะเห็นข้อผิดพลาดในตรงนี้ และแก้ไขให้เอง ซึ่งโปรแกรม Netfabb ตอนนี้ถูกบริษัท Autodesk ซื้อไปแล้ว ซึ่งถ้าใครอยากซื้อตัวเต็ม ก็สามารถทำได้ ซึ่งราคาก็สูงพอสมควรขึ้นอยู่กับ Feature ที่ต้องการใช้ สำหรับคนที่อยากใช้สามารถดาวน์โหลดได้ที่ Link นี้เลย
โปรแกรม MeshMixer
เป็นโปรแกรมแบบ Freeware ของบริษัท Autodesk ซึ่งจริงๆแล้วเป็นโปรแกม 3 มิติที่มีความสามารถหลายอย่างมาก ทั้งปั้นโมเดลก็ได้ หรือว่าจะเอาโมเดล 3 มิติมารวมกันเป็นชิ้นเดียวก็ได้ แต่สำหรับบทความนี้ผมจะเน้นไปในส่วนของวิธีการซ่อมโมเดลเป็นหลัก ข้อเสียของโปรแกรม MeshMixer คือ มี Parameter ในการซ่อมเยอะมาก และ Interface ของโปรแกรมดูใช้ยากไปหน่อย สำหรับใครที่สนใจโปรแกรม MeshMixer ก็ตามไปดาวน์โหลดได้ที่ Link นี้
โปรแกรม 3D Builder
โปรแกรม 3D Builder เป็นโปรแกรมฟรีเหมือนกัน และเป็นโปรแกรมของทาง Microsoft เอง ซึ่งถ้าใครลง Window 10 ไว้ ก็จะมีมาให้ใช้เลย ไม่ต้องไปดาวน์โหลดเพิ่มเติม ซึ่งการใช้งานก็ง่ายมาก และซ่อมโมเดลได้ดีในระดับนึง แต่คอมพิวเตอร์ต้องเสปคแรงหน่อย ไม่งั้นมีอาการค้างเหมือนกัน ซึ่งโปรแกรม 3D Builder นั้นสามารถซ่อมโมเดลได้ในหลายข้อผิดพลาด รวมถึงการ Intersecting faces ให้เป็นก้อนเดียวกัน ก็ทำได้ ข้อเสียของโปรแกรม 3D Builder ก็คือ ใช้เวลาซ่อมโมเดล 3 มิตินาน บางทีทำให้นึกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ค้าง
โปรแกรม Make It Printable
สำหรับโปรแกรมสุดท้ายที่จะแนะนำ อาจจะไม่เรียกว่าโปรแกรมก็ได้ เพราะเป็น Service หรือการให้บริการมากกว่า ซึ่งเป็น Website สำหรับให้ผู้ใช้ Upload โมเดล 3 มิติไปยัง Website ของเขา และใช้ Server ของเขาช่วยซ่อมไฟล์โมเดลให้ ข้อดีคือ ไม่จำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์เสปคสูง ขอแค่มี Internet ก็พอ ส่วนข้อเสียคือ ต้องรอ เพราะต้อง Upload โมเดล 3 มิติแล้วเข้าคิว เมื่อซ่อมเสร็จก็จะมี Email ส่งมาพร้อมกับ Link ให้ไป Download โมเดล 3 มิติที่ซ่อมเสร็จ สำหรับ Make It printable นั้น มีให้ใช้ทั้งแบบฟรี และแบบเสียเงิน ซึ่งถ้าเสียเงิน ก็จะมีข้อดีคือ รอรับไฟล์ได้เลย แถมไฟล์ที่ Upload มีขนาดใหญ่ได้ถึง 200 MB ส่วนใช้แบบฟรี นั้นมีข้อจำกัดในเรื่องของไฟล์ที่ Upload ซึ่งจำกัดอยู่ที่ 25 MB และต้องรอคิว ใครสนใจลองเข้าไปตาม Link นี้ได้
สำหรับใครที่อ่านถีงตรงนี้ ผมอยากแนะนำให้ว่า ก่อนการพิมพ์งานทุกครั้ง เราควรจะที่ตรวจเช็คโมเดล 3 มิติของเราเสียก่อน ไม่ว่าโมเดลจะเขียนขึ้นมาเอง หรือ Download มา ก็ควรที่จะตรวจเช็ค ก่อนที่จะเอาไปพิมพ์ เผื่อเป็นการลดข้อผิดพลาด ในการพิมพ์ ถ้าเกิดพิมพ์แล้วงานเสีย เราจะได้ไปหาสาเหตุตรงส่วนอื่น จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียเวลาหาตรงจุดนี้ ส่วนใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับงานพิมพ์ ซ่อมไฟล์แล้ว งานพิมพ์ก็ยังเสียอยู่ บางทีอาจจะไม่ใช่ที่ไฟล์แล้วก็ได้ อาจจะเป็นการตั้งค่าในโปรแกรม Slicer ถ้าอยากรู้ว่าปัญหาที่เราเจอจะแก้แบบไหนดี ลองเข้าไปดูในส่วน ปัญหาและวิธีการแก้ไขจากการใช้งานเครื่องปริ้น 3D ได้เลย