หมอไทยเก่ง ผ่าตัดปลูกถ่ายกระดูก โดยใช้เทคโนโลยี 3D Printer

[vc_row][vc_column][vc_column_text]ก่อนอื่นขอแสดงความยินดีกับโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าและมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ที่ประสบกับความสำเร็จในการปลูกถ่ายกระดูกเทียมที่พิมพ์ขึ้นจากไทเทเนียมให้กับคนไข้ได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งกระดูกที่ได้รับการปลูกถ่ายนั้นเป็น กระดูกในส่วนของนิ้วโป้ง ที่ถูกทำลายโดยมะเร็ง ซึ่งผลการผ่าตัดนั้นเป็นที่น่าพอใจ การปลูกถ่ายมีมาก่อนหน้านี้ 4 เดือน และคนไข้ไม่มีอาการต่อต้านกับกระดูกเทียมที่ถูกปลูกถ่าย ทางโรงพลาบาลจึงประกาศความสำเร็จในการผ่าตัดปลูกถ่ายกระดูกเทียมที่ทำขึ้นจากเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3?มิติ?หลังจากการผ่าตัด คนไข้สามารถกลับมาใช้นิ้วโป้งได้อย่างปกติเหมือนเดิม[/vc_column_text][vc_single_image image=”5077″ img_size=”large” alignment=”center” label=””][vc_column_text]สำหรับวิธีการทำกระดูกเทียมนั้น ทำได้โดยใช้เครื่องสแกนหรือเครื่อง X-ray ทำการสแกนนิ้วโป้งข้างที่ดีหรือไม่เสียหาย หลังจากนั้นทำการกลับภาพโมเดล ให้เป็นกระดูกสำหรับนิ้วโป้งฝั่งที่เสียหาย แล้วจึงนำไปพิมพ์กับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งทางโรงพลาบาลเลือกใช้วิธีการ Lost Wax Casting หรือการหล่อแบบทดแทนที่ ซึ่งเป็นระบบที่นิยมใช้ในวงการจิวเวลรี่ ส่วนเทคโนโลยีเครื่องปริ้น 3 มิติที่ทางโรงพยาบาลเลือกใช้จะเป็นระบบ SLA โดยใช้การยิงเลเซอร์ลงไปบนเรซิ่นเหลวแบบพิเศษที่สามารถนำไปหล่อได้ เรซิ่นจะแข็งตัวเมื่อโดยแสง เมื่อได้รูปกระดูกแล้ว จึงใช้ปูนพลาสเตอร์ชนิดพิเศษ เทลงไปที่ตัวเรซิ่น เมื่อปูนแข็งตัว จึงนำไปเผาเพื่อให้เรซิ่นหลอมละลายออกมา ซึ่งด้านในปูนก็จะเป็นรูปกระดูก หลังจากนั้นจึงหลอมโลหะไทเทเนียมลงไปในแบบ ก็จะได้กระดูกที่เป็นไทเทเนียมออกมา เพื่อนำไปใช้ปลูกถ่ายให้คนไข้[/vc_column_text][vc_single_image image=”5074″ img_size=”large” alignment=”center” label=””][vc_column_text]เป็นที่น่าสังเกตุว่า ทำไมทางโรงพลาบาลไม่ใช้วิธีการพิมพ์กระดูกลงบน เครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบที่ใช้พิมพ์โลหะโดยตรง ซึ่งตอนนี้ก็สามารถพิมพ์ไทเทเนียมได้แล้ว ในความคิดเห็นส่วนตัวของผม อาจจะเป็นในเรื่องของต้นทุนที่แพง ก็เป็นได้ เพราะตัวเครื่องแบบนี้จะมีราคาระดับเกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป แถมยังต้องอยู่ในห้องที่ถูกควบคุมอีกต่างหาก ไม่ใช่แค่เรื่องของตัวเครื่องที่แพงอย่างเดียว ตัววัสดุที่ใช้พิมพ์ก็แพงเหมือนกัน ลองคิดดูว่าโลหะที่เป็นแท่ง ต้องถูกแปรรูปให้อยู่ในรูปของผงที่มีขนาดเท่ากันเพื่อใช้กับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ นั้นทำยากมาก ทำให้ราคาแพงกว่าประมาณ 3 – 5 เท่าของราคาปกติ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับวิธีที่ทางโรงพยาบาลเลือกใช้นั้น ก็กือว่าทำได้ถูกมาก แถมสามารถที่จะ ขัดแต่งตัวเรซิ่นได้ก่อน การไปหล่อจริงได้อีกด้วย แถมเครื่องปริ้น 3 มิติแบบนี้ ราคาก็ไม่ได้แพงเหมือนแต่ก่อน ซึ่งราคาตอนนี้ก็อยู่ประมาณ 200000 บาทก็สามารถหาซื้อได้แล้ว[/vc_column_text][vc_video link=”https://www.youtube.com/watch?v=1rgfT-PlXqU” title=”ตัวอย่างกระบวนการ Lost Wax Casting ที่ใช้ในการทำกระดูกเทียมจาก 3D Printer”][vc_column_text]สำหรับ เครื่องพิมพ์ 3 มิติประเภทนี้ ทาง สยามเรปแรป ก็ผลิตอยู่ แต่หลักการจะใช้โปรเจคเตอร์เป็นแหล่งกำเนิดภาพแทนที่จะเป็นเลเซอร์ ใครสนใจเข้าไปดูได้ที่?FUSE เครื่องพิมพ์ 3 มิติระบบ SLA?หรือใครอยากรู้ว่า เทคโนโลยี 3D Printer มีกี่แบบก็สามารถเข้าไปอ่านดูได้ที่นี่?[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]

Similar Posts